สไลด์

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

นายกิตติศักดิ์ เอกอนงค์
514110001
สังคมศึกษา

ตอบคำถามบทที่4

1.สื่อการสอนมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนอย่างไร
ตอบ เป็นตัวกลางที่จะช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้ จากครูผู้สอน หรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เป็นสิ่งช่วยอธิบาย และขยายเนื้อหาบทเรียน ให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนที่ตั้งไว้
2.สื่อการสอนสามารถจำแนกได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ จำแนกประเภทของสื่อการสอนเป็น 3 ประเภทดังนี้ -1. อุปกรณ์ (Hardware) -2. วัสดุ (Software)-3. เทคนิคและวิธีการ (Technique and Method)
3.เอดการ์ เดล ใช้อะไร ? เป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของสื่อการสอน
ตอบ โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น โดยยึดถือเอาความเป็นนามธรรมและรูปธรรมเป็นหลักในการจัดแบ่งประเภท เขาถือว่าประสบการณ์ที่นักเรียนกระทำตรงโดยมีจุดมุ่งหมายนั้น เป็นประสบการณ์ที่มีความเป็นรูปธรรมมากที่สุด ส่วนประสบการณ์ที่ได้จากสื่อประเภทอื่น ๆ นั้นมีความเป็นรูปธรรมลดน้อยไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีความเป็นนามธรรมมากที่สุดคือ ประสบการณ์จากสื่อการสอนประเภทวจนสัญลักษณ์ เดลได้เขียนให้เห็นความเกี่ยวพันของประสบการณ์จากสื่อต่าง ๆ เอาไว้ด้วย เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)
4.ให้บอกคุณค่าทั่วไปของสื่อการสอนมา 5 อย่าง
ตอบ -1.1 ทำสิ่งซับซ้อนให้ดูง่ายขึ้น
-1.2 ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
-1.3 ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
-1.4 ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงช้าให้ดูเร็วขึ้น
-1.5 ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้เล็กเหมาะแก่การศึกษา
5.ขั้นตอนในการใช้สื่ออย่างเป็นระบบมีอะไรบ้าง
ตอบ Analyze Learner Characteristics การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนState Objectives การกำหนดวัตถุประสงค์Select, Modify, or Design Materials การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อใหม่ Utilize Materials การใช้สื่อRequire Learner Response การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียนEvaluation การประเมิน
6.ท่านมีวิธีการเลือกสื่อมาใช้กับการเรียนการสอนอย่างไร
ตอบ การใช้สื่อการสอนจะมุ่งเน้นทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้นการศึกษาหลักการเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สอนเพื่อเป็นแนวทางให้สามารถเลือกใช้เทคนิคได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกัลป์ปบหลักการอื่นๆในการจัดการเรียนการสอนอย่างแท้จริง
7.วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ตอบ 2.3.1 พุทธิพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ สติปัญญา และพัฒนาการ
2.3.2 จิตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยม และการเสริมสร้างทางปัญญา
2.3.3 ทักษะพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทำ การแสดงออก
8.ท่านคิดว่าสื่อการสอนเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนอย่างไร
ตอบ ช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้สอน โดยบางครั้งอาจให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาเองจากสื่อได้ ในการใช้สื่อการสอน หากผู้สอนได้มีการวางแผนอย่างเป็นระบบก็จะช่วยให้การใช้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
9.การได้ทราบประเภท และคุณสมบัติของสื่อ ช่วยท่านในการเลือกผลิตและใช้สื่ออย่างไร ตอบ การผลิตและการเลือกใช้สื่อควรเลือกให้ตรงตามเนื้อหาที่จะใช้สอนให้เหมาะสมกับเพศและวัยที่ศึกษา และควรมีจุดประสงค์ที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน
10.ปัจจุบันสื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทกับการศึกษาทุกระดับ ท่านมีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร
ตอบ ปัจจุบันนี้การเรียนการสอนส่วนใหญ่จะใช้สื่อที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์เพราะผู้สอนใช้อย่างสะดวกสบาย และทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สื่อการสอน

สื่อการสอนเป็นการใช้สื่อในฐานะตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนที่เป็นพาหนะในการถ่ายทอดสารคือ ความรู้ ประสบการณ์ อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ ค่านิยม และทักษะความชำนาญแก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนกำหนดไว้ ดังนั้นสื่อการสอนจึงมีความหมายดังต่อไปนี้

ความหมายของสื่อการสอน

สื่อ (Medium , Media) มาจากภาษาลาติน แปลว่า ระหว่าง หมายถึงตัวกลางที่จะทำให้สิ่งหนึ่งเดินทางจากจุดหนึ่ง ไปยังจุดปลายทางอีกจุดหนึ่ง หรือเป็นตัวเชื่อมระหว่างจุดทั้งสอง ส่วน การสอน (Instruction) เป็นการกระทำของครูเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตัวผู้เรียน ดังนั้นสื่อการสอน(Instruction Media) มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้ต่างๆ กันดังนี้
วาสนา ชาวหา(2533 : 8) ได้ให้ความหมายว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะนำความรู้ไปสู่ผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เป็นอย่างดี
ชัยยงค์ พรหมวงศ์(2543 : 111) ได้ให้ความหมายว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ(สิ้นเปลือง) อุปกรณ์(เครื่องมือที่ไม่ผุพังได้ง่าย) และวิธีการ(กิจกรรม ละคร เกมส์ การทดลองฯลฯ) ที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ(อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม) และทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กิดานันท์ มลิทอง(2546 : 26) ได้ให้ความหมายว่า สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ ภาพนิ่ง คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับบทเรียนในหลักสูตร สิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา และเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้เป็นอย่างดี

สรุปได้ว่า สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางที่จะช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้ จากครูผู้สอน หรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เป็นสิ่งช่วยอธิบาย และขยายเนื้อหาบทเรียน ให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนที่ตั้งไว้
ความสำคัญของสื่อการสอน

สื่อการสอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการสื่อสารการเรียนรู้และมีบทบาทที่สำคัญในการถ่ายทอดสารจากผู้สอนไปยังผู้เรียน ความสำคัญของสื่อในกระบวนการเรียนการสอนจำแนกได้ดังนี้(วาสนา ทวีกุลทรัพย์, 2537 : 157-158)
1. เป็นเครื่องช่วยในการสอน เมื่อนำสื่อมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนทำให้ผู้สอนสอนตามเนื้อหาได้ง่ายขึ้น รวดเร็ว และถูกต้องมากขึ้นทำให้ผู้สอนสามารถสอนได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ช่วยให้ลดการบรรยายของผู้สอนลงได้ นอกจากนั้นผู้สอนยังมีเวลาดูแลผู้เรียนที่เรียนอ่อนได้มากขึ้น หรือผู้สอนมีเวลาพัฒนาการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. เป็นเครื่องช่วยในการเรียนของผู้เรียน ผู้เรียนใช้สื่อเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ ผู้เรียนจะเรียนได้มากขึ้นจากสื่อโดยใช้เวลาน้อยลง สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนและมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉงช่วยให้เกิดความประทับใจจำได้นาน ทั้งยังช่วยส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ช่วยแก้ไขปัญหาในการเรียนรู้และช่วยให้เอาชนะข้อจำกัดต่างๆได้
3. เป็นเครื่องช่วยในการจัดการเกี่ยวกับการสอน สื่อการสอนช่วยเปลี่ยนบทบาทของผู้สอนจากผู้บอกความรู้มาเป็นผู้จัดการและกำกับดูแล คอยชี้แนะให้กับผู้เรียนโดยใช้สื่อเป็นแหล่งความรู้แทนทำให้สามารถจัดรูปแบบการเรียนการสอนได้หลายลักษณะ เช่น การสอนเป็นกลุ่มการสอนรายบุคคล การสอนทางไกล เป็นต้น
4. เป็นเครื่องช่วยเพิ่มคุณภาพทางการศึกษา สื่อการสอนสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนผู้เรียนที่เพิ่มขึ้น ผู้เรียนที่มีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน ฯลฯ สื่อการสอนจะช่วยเพิ่มคุณภาพโดยการปรับปรุงการสอนให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน ช่วยแก้ปัญหาความแตกต่างของผู้เรียน สร้างความเสมอภาคแก่ผู้เรียน เป็นต้น เนื่องจากการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนจำเป็นต้องอาศัยตัวกลางหรือช่องทางรูปแบบต่างๆเป็นพาหะนำความรู้ ทักษะ และทัศนคติไปยังผู้เรียน

คุณค่าของสื่อการสอน

คุณค่าของสื่อการสอน แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ คุณค่าทั่วไปของสื่อ และคุณค่าของสื่อกับการเรียนการสอน รายละเอียดดังนี้

1. คุณค่าทั่วไปของสื่อ
1.1 ทำสิ่งซับซ้อนให้ดูง่ายขึ้น
1.2 ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
1.3 ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
1.4 ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงช้าให้ดูเร็วขึ้น
1.5 ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้เล็กเหมาะแก่การศึกษา
1.6 ทำสิ่งที่เล็กมากให้มองเห็นได้ชัดขึ้น
1.7 นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาศึกษาในปัจจุบัน
1.8 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาในห้องเรียนได้

2. คุณค่าของสื่อกับการเรียนการสอน สื่อการสอนสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งกับผู้เรียนและผู้สอน
2.1 สื่อกับผู้เรียน
2.1.1 ช่วยสร้างความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนในเวลาอันสั้น เกิด
ความคิดรวบยอด ถูกต้อง รวดเร็ว ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2.1.2 ช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจของผู้เรียน
2.1.3 ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน และเกิดประสบการณ์ร่วมกัน
2.1.4 ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น ทำให้เกิด
มนุษยสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง และผู้เรียนกับผู้สอน
2.1.5 ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และสร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษา
ค้นคว้า
2.1.6 ช่วยแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคล
2.2 สื่อกับผู้สอน
2.2.1 การใช้สื่อประกอบการสอนจะช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจมี
ความสนุกสนานในการสอนมากกว่าวิธีบรรยายเพียงอย่างเดียว
2.2.2 ช่วยแบ่งเบาภาระผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหา
2.2.3 เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอ ในการเตรียมและผลิตวัสดุใหม่ ๆ
ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น

ประเภทของสื่อการสอน
โดยทั่วไปแล้ว นักเทคโนโลยีทางการศึกษามักนิยมจำแนกประเภทของสื่อการสอนเป็น 3 ประเภทดังนี้ (ชัยยงค์ พรหมวงศ์ 2523 : 112)

1. อุปกรณ์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่านทำให้ข้อมูลความรู้ที่บันทึกไว้ในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยินได้ เช่น เครื่องฉายภาพโปร่งใส เครื่องเล่นเทป เป็นต้น

2. วัสดุ (Software) หมายถึง สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเองจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ
2.1 วัสดุที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์
อื่นช่วย เช่น แผนที่ ลูกโลก หุ่นจำลอง เป็นต้น
2.2 วัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย
เช่น แผ่นเสียง สไลด์ เป็นต้น

3. เทคนิคและวิธีการ (Technique and Method) หมายถึง สื่อที่มีลักษณะเน้นแนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอนเป็นสำคัญ อาจนำเอาวัสดุหรืออุปกรณ์มาช่วยในการสอนด้วยก็ได้

เอดการ์ เดล (Dale. 1959 :42-53) ได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนออกเป็นประเภทต่าง ๆ 11 ประเภท โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น โดยยึดถือเอาความเป็นนามธรรมและรูปธรรมเป็นหลักในการจัดแบ่งประเภท เขาถือว่าประสบการณ์ที่นักเรียนกระทำตรงโดยมีจุดมุ่งหมายนั้น เป็นประสบการณ์ที่มีความเป็นรูปธรรมมากที่สุด ส่วนประสบการณ์ที่ได้จากสื่อประเภทอื่น ๆ นั้นมีความเป็นรูปธรรมลดน้อยไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีความเป็นนามธรรมมากที่สุดคือ ประสบการณ์จากสื่อการสอนประเภทวจนสัญลักษณ์ เดลได้เขียนให้เห็นความเกี่ยวพันของประสบการณ์จากสื่อต่าง ๆ เอาไว้ด้วย เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)

จากแผนภาพ หากจะจัดประเภทสื่อตามลำดับ จากประสบการณ์ที่มีความเป็นรูปธรรมมากที่สุดไปหาความเป็นรูปธรรมน้อยจนถึงความเป็นนามธรรมแล้วก็อาจแบ่งประเภทสื่อการสอนได้ 11 ประเภทตามที่กล่าวมาแล้วคือ
1. การกระทำจริงกับสภาพที่เป็นจริงด้วยจุดมุ่งหมายของผู้กระทำ
2. ประสบการณ์จำลอง สิ่งพวกนี้ได้แก่ สถานะการณ์จำลอง หุ่นจำลอง ภาพอันตรทัศน์
3. ประสบการณ์นาฎการ เช่น ละคร การแสดงในรูปแบบต่าง ๆ
4. การสาธิต เป็นการแสดงการกระทำด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนดูหรือสังเกต
5. การทัศนศึกษานอกสถานศึกษา
6. นิทรรศการ เป็นการดูของจริงที่นำมาจัดแสดงเอาไว้
7. โทรทัศน์ ดูจากรายการโทรทัศน์
8. ภาพยนตร์ เป็นภาพยนตร์การสอน ภาพยนตร์มีความเป็นรูปธรรมน้อยกว่าโทรทัศน์
ตรงความรู้สึกของผู้รับประสบการณ์ ผู้ชมภาพยนตร์เกิดความรู้สึกว่าภาพยนตร์มีความใหม่ ความสดน้อยกว่าโทรทัศน์
9. พวกภาพนิ่งและเสียงทั้งหลาย พวกนี้ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งแสง ภาพทึบ
แสง เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง รายการวิทยุ เป็นต้น
10. ทัศนสัญลักษณ์ อาทิเช่น แผนภูมิ แผนสถิติ แผนที่ ไดอาแกรม การ์ตูน ภาพล้อ และ
สัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
11. วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ ข้อความที่เป็นสิ่งขีดเขียนหรือคำพูดจากปากคนพูด

หลักการใช้สื่อการสอน

หลักการใช้สื่อการสอน ครอบคลุมการเลือกใช้สื่อ และขั้นตอนการใช้สื่อการสอน รายละเอียดดังนี้
1. การเลือกใช้สื่อ
ในการเลือกสื่อการสอน ผู้สอนจะต้องเข้าใจเนื้อหาเป็นอย่างดี เข้าใจสภาพผู้เรียนและกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมไว้อย่างชัดเจน จากนั้นจึงพิจารณาเลือกหรือจัดหาสื่อการสอนที่เหมาะสมและตรงเนื้อหาเป็นสื่อในการสอนเรื่องนั้นให้บรรลุวัตถุประสงค์ ส่วนกิจกรรมการเรียนการสอนจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์และสื่อที่เลือกไว้
1.1 การเลือกสื่อการสอน ในการเลือกสื่อการสอน อาจใช้หลักเกณฑ์ง่ายๆ ดังนี้
1.1.1 สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ การเลือกให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์นั้นผู้สอนจะต้องพิจารณาว่าวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมอย่างไร ตอนใด โดยปกติการเรียนการสอนในช่วงแรกจะมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มีความพร้อมที่จะเรียน จากนั้นจึงลงมือสอนและสรุป หลังจากนั้นจะเป็นกิจกรรมเสริมบทเรียนที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดทักษะ เกิดความแม่นยำในการจำและการกระทำยิ่งขึ้น เช่น จะเลือกมาใช้ในขั้นนำเพื่อเร้าหรือกระตุ้น เลือกมาใช้ในขั้นสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ หรือเลือกมาใช้ในขั้นสรุป ขั้นเสริมบทเรียน
1.1.2 ตรงกับเนื้อหา การเลือกให้ตรงเนื้อหาให้พิจารณาที่ตัวสื่อว่าให้ข้อมูลด้านใด ให้เนื้อหาสาระตรงตามเนื้อหาที่สอนหรือไม่ ครอบคลุมเนื้อหาเพียงใด ให้ข้อเท็จจริงถูกต้องหรือไม่ มีรายละเอียดเพียงพอหรือไม่
1.1.3 น่าสนใจ การเลือกสื่อที่น่าสนใจให้พิจารณาด้านขนาด รูปทรง สีสันขนาดตัวอักษร ความปราณีต ความสวยงาม และมีศิลปะความน่าดู น่าใช้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ช่วยสร้างศรัทธาให้เกิดกับผู้เรียน ทำให้เกิดการเรียนการสอนมีบรรยากาศที่สนุกสนานและพึงพอใจ
1.1.4 เหมาะกับวัยผู้เรียน ควรเลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับวัยผู้เรียนก็เนื่องจากผู้เรียนแต่ละวัยย่อมมีความสนใจที่แตกต่างกันในเรื่องระยะเวลาที่สนใจ และเรื่องที่สนใจ เช่น เด็กสนใจการ์ตูนมากกว่าภาพถ่าย นอกจากนี้ระดับความรู้หรือประสบการณ์จะแตกต่างกันในเด็กแต่ละวัย ผู้สอนจะเลือกสื่อใดจึงควรคำนึงถึงความสนใจ ความต้องการ ความสามารถ สติปัญญาและประสบการณ์ของผู้เรียน เลือกสื่อที่ไม่เสียเวลาในกาใช้เกินควร
1.1.5 สะดวกต่อการใช้และการเก็บรักษา ผู้สอนจะต้องเลือกสื่อโดยมีขั้นตอนการใช้ไม่ยุ่งยาก สะดวกต่อการฝึกใช้ เมื่อใช้แล้วให้ผลคุ้มค่า ปลอดภัย ไม่เกิดอันตราย สื่อนั้นนำมาใช้ในสภาพห้องเรียนที่มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก หากเป็นสื่อที่ใช้ไฟฟ้า ห้องเรียนก็ต้องมีไฟฟ้า เป็นต้น หลังจากใช้แล้วก็สะดวกต่อการเก็บรักษา เพราะมีขนาดกะทัดรัดไม่เกะกะ
1.2 การเลือกสื่อแต่ละประเภทนอกจากจะใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ ในการเลือกสื่อการสอนแล้ว จะต้องคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของสื่อแต่ละประเภทด้วย เพราะสื่อแต่ละชนิดเมื่อนำไปใช้ในสถานการณ์หนึ่งได้ผลดี อาจ
นำไปใช้ในอีกสถานการณ์หนึ่งได้ผลน้อย หรือไม่ได้ผลเท่าที่ควร สื่อแต่ละชนิดมีคุณค่าในตัวมันเองขึ้นอยู่กับการเลือกไปใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม เช่น
1.2.1 แผนภูมิ แผนภาพ รูปภาพ ใช้สำหรับอธิบาย แสดงความสัมพันธ์ แสดงกระบวนการ หรือเปรียบเทียบ
1.2.2 ภาพโฆษณา การ์ตูน ใช้เร้าความสนใจ จูงใจ
1.2.3 หุ่นจำลอง ใช้เมื่อไม่สามารถหาของจริงเป็นสื่อได้
1.2.4 ภาพยนตร์ ใช้เมื่อต้องการให้ผู้เรียนเห็นสภาพเหมือนจริง
1.2.5 อุปกรณ์การทดลอง ใช้เมื่อต้องการให้ผู้เรียนกระทำกิจกรรมเพื่อพิสูจน์หาความจริง
1.2.6 หนังสือ ตำรา เอกสาร ใช้เสริมความรู้ให้กว้างขวางขึ้น
1.2.7 วัสดุหรือตัวแสดงประกอบแผ่นป้ายสำลี แผ่นป้ายแม่เหล็ก เหมาะสำหรับแสดงเรื่องราวที่ต้องการให้เห็นองค์ประกอบ กระบวนการ วิวัฒนาการ การเปลี่ยนหรือความสัมพันธ์




2. ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน
การใช้สื่อการสอนจะมุ่งเน้นทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้นการศึกษาหลักการเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สอนเพื่อเป็นแนวทางให้สามารถเลือกใช้เทคนิคได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกัลป์ปบหลักการอื่นๆในการจัดการเรียนการสอนอย่างแท้จริง
การใช้สื่อการสอนที่ดี นอกจากจะขึ้นอยู่กับทัศนะของผู้สอนแต่ละบุคคลแล้วการใช้สื่อจะได้ผลมากน้อยเพียงใดยังขึ้นอยู่กับผู้เรียนด้วย ทั้งนี้เพราะความมุ่งหมายสำคัญของการใช้สื่อการสอนก็เพื่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของตัวผู้เรียนนั่นเอง ดังนั้นการใช้สื่อการสอนให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลผู้สอนจึงควรดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป(เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์, 2545 : 270-276)
2.1 ขั้นวางแผนภารกิจ(Planing of Media Utilization) การวางแผนภารกิจในการใช้สื่อ ผู้สอนควรทำภารกิจที่สำคัญดังนี้
2.1.1 ต้องวิเคราะห์หลักสูตร เนื้อหา และกำหนดเป้าหมายในการสอนว่าจุดมุ่งหมายของเนื้อหาที่จะสอนคืออะไร เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจในการสอนแล้วผู้เรียนต้องแสดงพฤติกรรมอะไรออกมาได้บ้าง ฉะนั้นในอันดับแรกผู้สอนต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาได้อย่างถ่องแท้ชัดเจนและที่สำคัญต้องระบุจุดมุ่งหมายได้อย่างถูกต้อง ในการสอนทั่วไปมักระบุจุดมุ่งหมายครอบคลุมทั้งสามด้าน คือ พุทธพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย
2.1.2 ต้องวิเคราะห์บทบาทของสื่อที่ใช้ โดยผู้สอนต้องพิจารณาว่าจะใช้สื่อในขั้นตอนใดของการเรียนการสอน ในการสอนแต่ละครั้งสามารถนำสื่อมาใช้ได้หลายขั้นตอน ผู้สอนจำเป็นต้องวิเคราะห์บทบาทของสื่อที่จะใช้ว่าใช้เพื่ออะไร เพราะในแต่ละขั้นตอนก็จะมีเทคนิคและวิธีการที่แตกต่างกันไป เช่น
1) การใช้สื่อเพื่อเร้าความสนใจผู้เรียน
2) การใช้สื่อเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนเป็นการแนะนำชักจูงให้ผู้เรียนมีความสนใจเรื่องที่จะสอน และยังเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจจุดมุ่งหมายของการสอนในครั้งนั้นๆ เมื่อผู้เรียนทราบในสิ่งที่จะเรียนแล้วก็จะเป็นโอกาสให้ผู้เรียนได้นำความรู้เดิมที่มีอยู่มาให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ที่จะเรียนต่อไป
3) การใช้สื่อประกอบกับสื่ออื่นในขั้นตอนการสอน การสอนจะมี 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ การสอนที่เน้นครูเป็นศูนย์กลาง การสอนแบบนี้ผู้สอนจะเป็นคนใช้สื่อเองเป็นส่วนใหญ่ เช่น การสอนแบบบรรยาย แบบสาธิต เป็นต้น และการสอนแบบนี้ผู้เรียนจะเป็นคนใช้สื่อเอง เช่น การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ การเรียนรายบุคคล การเรียนด้วยบทเรียนโปรแกรม เป็นต้น
4) การใช้สื่อเพื่อทบทวนบทเรียนหรือสรุปบทเรียน เป็นขั้นที่ครูทบทวนหรือสรุปความรู้ความเข้าใจ สรุปหลักเกณฑ์ข้อเท็จจริงหรือแนวคิดต่างๆเป็นการสรุปย้ำความเข้าใจในเนื้อหา
5) การใช้สื่อเพื่อทดสอบความรู้ผู้เรียนหรือการประเมินผล เป็นขั้นที่ผู้สอนใช้สื่อเพื่อต้องการตรวจสอบว่าผู้เรียนได้รับความรู้ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้หรือไม่ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ให้ประกอบกิจกรรม การถาม ตอบ การทำรายงาน การแสดงบทบาท การเล่นเกมส์ จัดนิทรรศการ เพื่อสรุปความคิดรวบยอดนั่นเอง
2.1.3 ต้องวิเคราะห์ผู้เรียน ผู้สอนควรทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน เช่น ระดับชั้น อายุ ความสามารถทางสติปัญญา ประสบการณ์เดิม อัตราการเรียน ลักษณะในการเรียน
2.2 ขั้นเลือกสื่อการสอน(Selection of Media) การเลือกสื่อมาใช้ในการสอน ก่อนอื่นผู้สอนต้องยอมรับว่าไม่มีวิธีการสอนใด กิจกรรมการเรียนการสอนใด หรือสื่อประเภทใดที่ดีที่สุดในการเรียนเนื้อหาหนึ่ง ดังนั้นผู้สอนควรเลือกสื่อตามเกณฑ์คุณสมบัติที่ดีของสื่อแต่ละประเภทและควรพยายามเลือกใช้สื่อที่เป็นลักษณะสื่อประสม เพื่อจะได้ช่วยเสริมซึ่งกันและกันจะช่วยให้ผลดีกว่าใช้สื่อเพียงชนิดเดียว อย่างไรก็ตามเมื่อผู้สอนเลือกใช้สื่อควรยึดแนวคิดต่อไปนี้ คือ
2.2.1 การเลือกสื่อที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและสัมพันธ์กับเนื้อหาที่สอน
2.2.2 อย่าใช้ความพึงพอใจส่วนตัวเป็นเกณฑ์ตัดสินคัดเลือกสื่อชนิดใดมาใช้ผู้สอนควรเปิดใจให้กว้างแล้วเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมมาใช้
2.2.3 ผู้สอนต้องศึกษาทำความเข้าใจธรรมชาติของสื่อแต่ละชนิดให้ถ่องแท้ เช่น
1) มีรายละเอียดของเนื้อหาสาระอะไรบ้าง
2) มีระดับความยากง่ายของสื่อในการใช้หรือทำความเข้าใจมากน้อยเพียงไร
3) หากนำสื่อมาใช้เหมาะกับขั้นตอนใดในการสอน
4) จะมีเวลาในการใช้สื่อที่เหมาะสมมากน้อยเพียงใด เพราะหากนานเกินไปอาจส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายได้
2.2.4 ควรเลือกสื่อให้เหมาะสมกับการจัดสภาพการเรียนการสอน เช่น การสอนกลุ่มเล็ก การสอนกลุ่มใหญ่ การสอนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น การใช้สื่อในสภาพการเรียนที่แตกต่างกันย่อมส่งผลในการเลือกสื่อมาใช้แตกต่างกัน
2.2.5 เลือกสื่อที่มีคุณภาพในทางเทคนิค และการผลิตที่ดี
2.2.6 เลือกสื่อที่มีการใช้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป
2.2.7 เลือกสื่อที่มีเนื้อหาทันสมัย ถูกต้อง ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
2.2.8 เลือกสื่อที่หาได้ง่าย ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากเกินไป เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ
2.2.9 เลือกสื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียน เช่น ให้เหมาะสมกับระดับความรู้ ความสนใจ อายุ และความสามารถของผู้เรียน
2.3 ขั้นเตรียมการใช้(Preparation of Media Utilization) ก่อนการใช้สื่อการสอนผู้สอนจะต้องมีการเตรียมการใช้สื่อที่สำคัญ ดังนี้
2.3.1 การเตรียมตัวผู้สอน การเตรียมตัวก่อนการใช้สื่อในการสอนจริงจะทำให้ผู้สอนเกิดความมั่นใจในการใช้มากยิ่งขึ้น และแสดงถึงความพร้อมของผู้สอนได้เป็นอย่างดี ผู้สอนควรเตรียมในด้านต่างๆดังนี้
1) ศึกษาเนื้อหาในสื่อก่อน เพื่อเตรียมตัวสำหรับการให้คำแนะนำ การเตรียมคำถามหรือาจจะเตรียมแบบฝึกหัด แบบทดสอบ การสรุป เป็นต้น เมื่อผู้สอนศึกษาเนื้อหาในสื่อโดยละเอียดแล้วจะได้เข้าใจจุดมุ่งหมายในการใช้สื่อชัดเจนขึ้นและยังสามารถเน้นในส่วนที่สำคัญได้
2) ตระเตรียมศึกษาวิธีใช้ หรือทดลองใช้สื่อนั้นก่อนนำไปใช้จริงในห้องเรียน เพื่อที่จะได้ทราบขั้นตอนและรายละเอียดของกระบวนการตลอดทั้งอาจพบปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้
3) ผู้สอนต้องเตรียมตัวให้พร้อมในเนื้อหาที่จะสอน ศึกษาข้อดีและจุดอ่อนของสื่อนั้นๆตลอดจนแนวทางที่จะใช้สื่อนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
2.3.2 การเตรียมสื่อ ในการเตรียมสื่อควรปฏิบัติดังนี้
1) ควรทดลองใช้ก่อนอย่างน้อย 30 นาที เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดขัดข้องจะได้มีเวลาในการแก้ไขได้ทัน
2) ควรจัดวางให้เป็นระเบียบเรียบร้อย จัดเรียงลำดับก่อนหลังให้ดีเพื่อความสะดวกในการหยิบใช้งาน
3) สื่อที่ยังไม่ได้ใช้ควรเก็บให้พ้นจากสายตาผู้เรียน เมื่อถึงขั้นตอนใช้ควรหยิบขึ้นมาเพราะสื่อจะดึงความสนใจไปจากการสอนในขณะนั้น
2.3.3 เตรียมห้องเรียน ในการเตรียมห้องเรียนผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้
1) เตรียมหรือตรวจสอบเครื่องอำนวยความสะดวกที่ต้องใช้ร่วมกับสื่อการสอนที่เลือกไว้ให้พร้อมในการใช้งานได้ทันที เช่น โต๊ะสำหรับสาธิต โต๊ะวางสื่อ แผงติดภาพ ตะขอแขวนภาพ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ควรจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่ผู้เรียนทุกคนมองเห็นชัดเจน
2) ตรวจสอบสภาพห้องเรียน เตรียมจัดที่นั่ง เว้นที่ว่างหน้าชั้นให้เหมาะสมกับการประกอบกิจกรรมและให้สอดคล้องกับสื่อที่นำมาใช้
3) เตรียมการจัดสภาพแวดล้อม และบรรยากาศในห้องเรียน เช่น ระบบระบายอากาศ ระบบควบคุมแสงสว่าง ระบบเสียง การควบคุมอุณหภูมิภายในห้อง
4) เตรียมการป้องกันและการแก้ปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้สื่อ
2.3.4 การเตรียมตัวผู้เรียน เป็นการสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนเมื่อนำสื่อมาใช้ ดังนั้นผู้สอนควรเตรียมผู้เรียนดังนี้
1) ต้องบอกให้ผู้เรียนทราบถึงวัตถุประสงค์ของการใช้สื่อไว้ล่วงหน้าว่าใช้สื่อสอนเนื้อหาอะไร มีจุดประสงค์อะไร เพื่อผู้เรียนจะได้ให้ความสนใจในการใช้สื่อตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนกำหนดไว้
2) แนะนำสื่อที่ใช้และแนะวิธีการเรียนจากสื่อ เช่น ให้สังเกตประเด็นสำคัญ สิ่งที่ต้องสนใจเป็นพิเศษ ตั้งใจฟังตรงที่สำคัญ การหาคำตอบจากสื่อ คำศัพท์ใหม่ๆโดยผู้สอนอาจจะเขียนไว้ที่กระดานล่วงหน้าเพื่อเตรียมผู้เรียนก็ได้
3) อธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจว่า กิจกรรมที่จะต้องปฏิบัติหลังจากการใช้สื่อแล้วจะมีอะไรบ้าง เช่น ตอบคำถาม ทำรายงาน แสดงบทบาท ทำการทดลอง เป็นต้น
4) ควรเตรียมจังหวะที่จะให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการใช้สื่อบ้าง เช่น ร่วมในการทดลองหรือในการสาธิต มีส่วนร่วมในการอำนวยความสะดวกอื่นๆ
5) เตรียมเพื่อช่วยให้เกิดความพร้อมที่จะเรียน เช่น การอธิบายความหมายของคำหรือศัพท์ที่ยาก การเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เดิมกับความรู้ใหม่ และเตรียมอธิบายเพิ่มเติมในสิ่งที่ยากต่อการเข้าใจ
6) ควรเตรียมการให้คำแนะนำ การป้องกันปัญหา หรือข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการใช้สื่อ
2.4 ขั้นการใช้สื่อ(Presentation of Media) ในขั้นนี้ครูอาจปฏิบัติดังต่อไปนี้
2.4.1 ให้ใช้สื่อตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอน โดยให้ผู้เรียนได้เห็นได้ยินหรือมีกิจกรรมร่วมด้วยอย่างทั่วถึง
2.4.2 ใช้สื่อการสอนให้อยู่ภายในเวลาที่กำหนดไว้ แต่อาจยืดหยุ่นได้เมื่อมีความจำเป็น
2.4.3 ควรใช้วิธีการนำเสนอให้เหมาะสมกับสื่อแต่ละชนิด
2.4.4 การนำเสนอไม่ควรบังสายตาผู้เรียน ต้องคอยสังเกตปฏิกิริยาของผู้เรียนสม่ำเสมอ
2.4.5 ใช้เทคนิคการนำเสนอให้น่าสนใจ ซึ่งจะช่วยให้การใช้สื่อน่าสนใจ เช่น การบังบางส่วน หรือเมื่อเลิกใช้สื่อใดแล้วควรเก็บให้พ้นสายตา
2.4.6 หลีกเลี่ยงการใช้สื่อที่มีผิวมันวาว ที่ทำให้เกิดแสงสะท้อนเข้าตาผู้เรียน
2.4.7 เมื่อนำสื่อมาใช้ต้องบอกให้ผู้เรียนทราบขนาดรูปร่างที่แท้จริงของสิ่งนั้น
2.4.8 ควรมีกิจกรรมหลังจากใช้สื่อแล้ว หรืออาจจะให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในส่วนที่ต้องการขยายให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
2.5 ขั้นการประเมินผลการใช้สื่อ(Evaluation of Media Utilization) ในขั้นการประเมินนี้น่าจะทำให้ผู้สอนได้ทราบว่าสื่อนั้นมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนเพียงใด ผู้สอนเองมีเทคนิคในการใช้สื่อการสอนนั้นดีพอหรือไม่ เป็นขั้นที่ผู้สอนหาข้อมูลเพื่อพิสูจน์ว่าในการใช้สื่อที่ผ่านมานั้นบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด และยังเป็นประโยชน์เพื่อปรับปรุงการใช้สื่อในคราวต่อๆไปด้วย ดารประเมินผลการใช้สื่อสามารถประเมินได้ 2 ด้านคือ
2.5.1 การประเมินด้านผู้สอน สิ่งที่ต้องประเมิน คือ
1) ประเมินการวางแผนในการใช้ เพื่อตรวจสอบว่าวิ่งที่ได้วางแผนไว้สามารถปฏิบัติเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ หรือการวางแผนเป็นแต่เพียงตามหลักการทฤษฎีแต่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ดังนั้นจึงต้องเก็บรวบรวมข้อมูลไว้สำหรับเป็นบทเรียนเพื่อการวางแผนใช้สื่อในการสอนครั้งต่อไป
2) การประเมินกระบวนการใช้สื่อ โดยประเมินว่าขณะใช้สื่อผู้สอนสามารถบอกตนเองได้ตลอดเลาว่าผู้สอนมีความพร้อมเพียงใด มีปัญหา หรืออุปสรรคใดเกิดขึ้นบ้าง มีข้อขัดข้องจากอะไรบ้างสาเหตุจากอะไร ได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางเทคนิคการใช้ที่ได้วางแผนไว้หรือไม่ได้มีการป้องกันไว้ก่อนแล้วหรือไม่
3) การประเมินผลเกิดขึ้นจากการใช้สื่อ ซึ่งมักจะเกิดกับผู้เรียนโดยตรง ประเมินในประเด็นว่าผลของการใช้สื่อตามแผนและกระบวนการที่วางไว้ก่อให้เกิดผลแก่ผู้เรียนหรือไม่ เข้าใจหรือบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมได้ตามเกณฑ์หรือไม่เพียงใด
2.5.2 การประเมินด้านผู้เรียน การประเมินผลที่เกิดจากการใช้สื่อในด้านของผู้เรียนอาจทำให้หลายวิธีซึ่งมีเป้าหมายที่สำคัญคือ เพื่อประเมินผลว่าการเรียนบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ทำได้โดยการให้ทำแบบทดสอบ(Test) การอภิปราย(Discussion) การทำรายงาน(Repirts) การเสนองานหน้าชั้นเรียน(Presentation) เป็นต้น

การวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อการสอน

ในการใช้สื่อการสอนนั้น ผู้สอนควรจะได้มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ในการใช้เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ การวางแผนอย่างเป็นระบบนี้ เราสามารถใช้รูปแบบจำลองที่เรียกว่า ASSURE MODELL เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน โดยรูปแบบจำลองนี้มีขั้นตอน ดังต่อไปนี้ คือ
Analyze Learner Characteristics การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน
State Objectives การกำหนดวัตถุประสงค์
Select, Modify, or Design Materials การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบ
สื่อใหม่
Utilize Materials การใช้สื่อ
Require Learner Response การกำหนดการตอบสนองของ
ผู้เรียน
Evaluation การประเมิน

1. การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน (Analyze Learner Characteristics)
เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อผู้สอนจะได้ทราบว่า ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนนั้นมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ในเรื่องนี้ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน ลักษณะทั่วไป ได้แก่ อายุ ระดับความรู้ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของบทเรียนและเพื่อเลือกตัวอย่างของเนื้อหาให้เหมาะกับผู้เรียนได้ สำหรับ ลักษณะเฉพาะ ของผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับเนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน สิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่
1.1 ทักษะที่มีมาก่อน (prerequisite skill) เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานหรือ
ทักษะที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้นอะไรบ้างก่อนที่จะเรียน
1.2 ทักษะเป้าหมาย (target skill) ผู้เรียนมีความชำนาญในทักษะที่จะสอนนั้นมาก่อนหรือไม่ เพื่อจะได้สอนให้ตรงกับที่วางจุดมุ่งหมายไว้
1.3 ทักษะในการเรียน (study skills) ผู้เรียนมีความสามารถขั้นต้นทางด้านภาษา การอ่านเขียน การคำนวณ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยในการเรียนรู้นั้นในระดับมากน้อยเพียงไร
1.4 ทัศนคติ (attitudes) ผู้เรียนมีทัศนคติอย่างไรต่อวิชาที่จะเรียนนั้น
การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นการกระทำเพียงผิวเผินก็ตาม แต่ก็สามารถ
นำไปใช้ในการเลือกสื่อที่เหมาะสมได้ เช่น หากผู้เรียนมีทักษะในการอ่านต่ำกว่าเกณฑ์ก็สามารถช่วยได้ด้วยการใช้สื่อประเภทมิใช่สื่อสิ่งพิมพ์ หรือถ้าหากผู้เรียนในกลุ่มนั้นมีความแตกต่างกันมากก็สามารถให้เรียนด้วยชุดการเรียนรายบุคคล เป็นต้น
การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนอาจจะทำได้ยากในบางครั้ง ทั้งนี้เพราะผู้สอนอาจมีเวลาน้อยที่จะสังเกต หรือผู้เรียนอาจเป็นผู้มาจากที่อื่นเข้ามาเรียนหรือรับการอบรม แต่ก็สามารถกระทำได้ด้วยการสนทนากับผู้เรียนหรือผู้ร่วมชั้นอื่น ๆ หรืออาจมีการทดสอบก่อนเรียนเพื่อดูพื้นฐานของผู้เรียนก็ได้

2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (State Objectives)
วัตถุประสงค์เป็นสิ่งที่ตั้งขึ้นเพื่อคาดหวังว่าผู้เรียนจะสามารถบรรลุถึงสิ่งใดหรือมีความสามารถใหม่อะไรบ้างในการเรียนนั้น การตั้งหรือกำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนนี้เพื่อ
2.1 ผู้สอนจะได้ทราบว่าการเรียนการสอนนั้นมีวัตถุประสงค์อะไร เพื่อสะดวกในการ
2.1.1 เลือกสื่อและวิธีการให้ถูกต้องวัตถุประสงค์นี้จะช่วยผู้สอนในการจัดลำดับกิจกรรมการเรียนและสร้างสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์เรียนรู้ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์นั้น
2.1.2 ช่วยในการประเมินผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง เพราะผู้สอนจะไม่ทราบเลยว่า
ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ถ้าไม่มีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ก่อน
2.1.3 ช่วยให้ผู้เรียนทราบว่าเมื่อเรียนบทเรียนนั้นแล้วจะสามารถเรียนรู้หรือ
กระทำอะไรได้บ้าง
2.2 การกำหนดวัตถุประสงค์ ควรประกอบด้วย
2.2.1 การกระทำ (Performance) เป็นสิ่งที่คาดหวังว่าผู้เรียนจะสามารถกระทำอะไร
ได้บ้างภายหลังจากการเรียนแล้ว ซึ่งการกระทำนั้นต้องเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้
2.2.2 เงื่อนไข (Conditions) เป็นข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่ตั้งขึ้นโดยรวมอยู่
ภายใต้การกระทำนั้น
2.2.3 เกณฑ์ (Criteria) เพื่อเป็นการตัดสินการกระทำนั้นว่าเป็นไปตามที่กำหนด
ไว้หรือไม่
2.3 เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์แล้ว ควรมีการแบ่งประเภทหรือระดับขอบเขตการเรียนรู้ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์หรือแนวทางในการตัดสินว่า การเรียนรู้นั้นจะครอบคลุมแนวของทักษะหรือพฤติกรรมอะไรบ้าง จึงต้องมีการกำหนดเป็น “วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม” ได้แก่
2.3.1 พุทธิพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับ
ความรู้ความเข้าใจ สติปัญญา และพัฒนาการ เป็นต้น
2.3.2 จิตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยม
และการเสริมสร้างทางปัญญา
2.3.3 ทักษะพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทำ การแสดงออก หรือ
การปฏิบัติ

3. การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อ (Select, Modify, or Design Materials)
การที่จะมีสื่อวัสดุที่เหมาะสมในการเรียนการสอนสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
3.1 เลือกจากสื่อที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถ
ใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว ดังนั้น สิ่งที่ผู้สอนต้องกระทำคือ ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งใดที่จะใช้เป็นสื่อได้บ้างโดย เลือกให้ตรงกับลักษณะผู้เรียนและวัตถุประสงค์ของการเรียน เช่น สื่อที่มีอยู่มีเนื้อหาข้อมูลและกิจกรรมที่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ และการเลือกสื่อนั้นย่อมขึ้นอยู่กับวิธีการสอนในบทเรียน และข้อจำกัดของสถานการณ์การเรียนการสอนด้วย
3.2 ดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว ให้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อนั้นด้วย เช่น มีภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเป็นภาษาอังกฤษ ถ้ามีการแปลเป็นภาษาไทยแล้วบันทึกเสียงลงใหม่เพื่อให้ผู้เรียนชมและฟังเข้าใจง่ายขึ้น จะคุ้มกับเวลาและการลงทุนหรือไม่ เป็นต้น
3.3 การออกแบบสื่อใหม่ ในกรณีที่ไม่มีสื่อเดิมอยู่หรือที่มีอยู่แล้วไม่สามารถนำมาดัดแปลงให้ใช้ได้ตามที่ต้องการ ผู้สอนย่อมต้องมีการออกแบบและจัดทำสื่อใหม่ซึ่งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนและลักษณะของผู้เรียนมีงบประมาณในการจัดทำเพียงพอหรือไม่ มีเครื่องมือและผู้ชำนาญในการจัดทำสื่อหรือไม่ เป็นต้น

4. การใช้สื่อ (Utilize Materials)
เป็นขั้นของการกระทำจริงซึ่งผู้สอนจะต้องดำเนินการ ดังนี้
4.1 ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อเหล่านี้ก่อนเป็นการเตรียมตัว เช่น ดูสไลด์หรือวีดิทัศน์
เพื่อศึกษาเนื้อหาให้แม่นยำก่อนนำไปสอน หรืออ่านบทวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้นร่วมด้วย
4.2 จัดเตรียมสถานที่ ที่นั่งเรียน อุปกรณ์เครื่องมือ และสิ่งต่าง ๆ เพื่อความสะดวกเรียบร้อยก่อนการสอน และควรทดลองอุปกรณ์ที่จะใช้ก่อนว่าใช้ได้ดีหรือไม่
4.3 เตรียมตัวผู้เรียน โดยการใช้สื่อนำเข้าสู่บทเรียน ถ้ามีการฉายวีดิทัศน์หรือภาพยนตร์ให้ชมก็ควรจะสรุปเนื้อหาเรื่องที่จะชมนั้นให้ผู้เรียนทราบเสียก่อนว่าเกี่ยวข้องกับบทเรียนอย่างไรบ้าง เป็นการแนะนำก่อนล่วงหน้าและเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน
4.4 ควบคุมชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจในสื่อที่นำเสนอนั้น

5. การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน (Require Learner Response)
การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน และเปิดโอกาสให้มีการตอบสนองนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ซึ่งผู้เรียนจะมีการตอบสนองหรือไม่และมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับสื่อที่นำมาใช้ สื่อบางชนิดเมื่อใช้แล้วจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากกว่าสื่อชนิดอื่น เช่น การให้อ่านข้อความในหนังสือหรือดูรูปจะทำให้ผู้เรียนมีการอภิปรายจากสิ่งที่อ่านหรือเห็น ผู้เรียนย่อมมีการตอบสนองเกิดขึ้นได้ทันทีและง่ายกว่าการให้ดูภาพยนตร์ ทั้งนี้เพราะการดูภาพยนตร์ถ้าจะดูให้รู้เรื่องจริง ๆ แล้วควรจะต้องดูให้จบเรื่องเสียก่อนแล้วจึงอภิปรายกัน ซึ่งจะดีกว่าหยุดดูทีละตอนแล้วอภิปรายเพราะจะทำให้มีการขัดจังหวะเกิดความไม่ต่อเนื่องในการดูอาจจะทำให้ไม่เข้าใจหรือจับความสำคัญของเรื่องไม่ได้นอกจากนี้ ผู้เรียนสามารถมีการตอบสนองโดยเปิดเผย (overt response) โดยการพูดออกมาหรือเขียน และการตอบสนองภายในตัวผู้เรียน (covert response) โดยการท่องจำหรือคิดในใจ เมื่อผู้เรียนมีการตอบสนองแล้วผู้สอนควรให้การเสริมแรงทันทีเพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องหรือไม่ การเรียนการสอนโดยการให้ทำแบบฝึกหัด การตอบคำถามการอภิปราย หรือการใช้บทเรียนแบบโปรแกรม จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีการตอบสนองและได้รับการเสริมแรงระหว่างการเรียนได้เป็นอย่างดี

6. การประเมิน (Evaluation)
การประเมินสามารถกระทำได้ใน 3 ลักษณะ คือ
6.1 การประเมินกระบวนการสอน สื่อการสอน และวิธีการสอน โดยในการประเมินสามารถทำได้ทั้งในระยะก่อน ระหว่าง และหลังการสอน
6.2 การประเมินความสำเร็จของผู้เรียน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ว่ามีเกณฑ์เท่าใดการวัดผลอาจทำได้ด้วยการทดสอบ การสอบปากเปล่า หรือดูจากผลงานของผู้เรียน สิ่งสำคัญที่จะทราบได้ว่าผู้เรียนมีสัมฤทธิผลทางการเรียนมากน้อยเท่าใด คือ สังเกตจากการปฏิบัติและการแสดงออกของผู้เรียนนั้น
6.3 การประเมินสื่อและวิธีการสอน โดยการให้ผู้เรียนมีการอภิปรายและวิจารณ์การใช้สื่อและเทคนิควิธีการสอนว่าเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
การใช้รูปแบบจำลอง ASSURE Model เป็นรูปแบบจำลองที่เน้นถึง การวางแผนอย่างเป็นระบบในเรื่องของการใช้สื่อการสอนในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงของห้องเรียนเพื่อให้ผู้สอนทุกคนสามารถนำรูปแบบจำลองนี้มาใช้ในการวางแผนการสอนประจำวันได้อย่างมีประสิทธิผล รูปแบบจำลองนี้จะเป็นหลักประกันถึงความสำเร็จในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีถ้าหากผู้สอนสามารถดำเนินกระบวนการได้อย่างถูกต้องทุกขั้นตอน

บทสรุป

สื่อการสอน เป็นตัวกลางที่จะช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้ จากครูผู้สอน หรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เป็นสิ่งช่วยอธิบาย และขยายเนื้อหาบทเรียน ให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนที่ตั้งไว้
สื่อการสอนสามารถให้ประโยชน์ทั้งกับผู้เรียนและผู้สอน ประโยชน์กับผู้เรียน เช่น ช่วยสร้างความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อน ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ช่วยแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคล ฯลฯ สำหรับประโยชน์กับผู้สอน จะช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้สอน โดยบางครั้งอาจให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาเองจากสื่อได้ ในการใช้สื่อการสอน หากผู้สอนได้มีการวางแผนอย่างเป็นระบบก็จะช่วยให้การใช้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

นาย กิตติศักดิ์ เอกอนงค์
สังคมศึกษา 514110001
คำถามทบทวน
1. การสื่อสารมีความสำคัญกับการเรียนรู้อย่างไร -การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาที่มนุษย์ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญกับการเรียนรู้ เพราะจะทำให้ผู้สื่อสารทั้ง 2 ฝ่ายเข้าใจได้ตรงกัน


2. องค์ประกอบของการสื่อสาร มีอะไรบ้าง -องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประกอบด้วย1. ผู้ส่งสาร (Source) คือ ผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว ความรู้ ความคิด ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆเพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เช่น ผู้อ่าน ข่าว ครู สถาบันการศึกษา เป็นต้น2. เรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านั้น เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น3. สื่อ (Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ เหตุการณ์ต่างๆที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้มากก็คือ ภาษาพุด ภาษาเขียน4. ผู้รับสาร (Receiver ) ได้แก่ ผู้ที่รับเนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เมื่อรับเรื่องราวแล้วผู้รับต้องมี การแปลข่าวสารนั้นให้เข้าใจ เหตุการณ์

3. จงเขียนแผนผังของกระบวนการสื่อสาร-
ผู้ส่งสาร ---- การเข้ารหัส ----สัญญาณ ---- การถอดรหัส ---- ผู้รับสาร

4. ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น ทำไมครูจึงควรใช้รูปแบบการสื่อสาร 2 ทาง คนเราสามารถรับรู้ทางใดมากที่สุด ในปริมาณเท่าไร-เพราะจะได้ทำให้รู้ว่าสิ่งที่สอนไปนั้นผู้เรียนเข้าใจหรือไม่ มากน้อยเพียงใดและควรปรับปรุงตรงส่วนใดที่ผู้เรียนไม่เข้าใจ คนเราสามารถรับรู้ทางตาได้มากที่สุด ในปริมาณ 75 เปอร์เซนต์

5. องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนรู้มีอะไรบ้าง -องค์ประกอบของการเรียนรู้การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการ (สมศักดิ์ เจียมทะวงษ์. 2519 : 20-26) คือ1. แรงจูงใจ (Motive) คนเราจะเรียนรู้ได้ดีหากเขามีแรงจูงใจสูงในบทเรียน ที่เขาจะเรียนเช่น เรื่องนั้นแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น หรือตรงความต้องการของเขา2. กระบวนการสอน (Teaching procedure) แม้ว่าผู้เรียนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนเพียงใด แต่ถ้ากระบวนการสอนของครูไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพได้3. กระบวนการเรียน (Studying Procedure) การเรียนรู้ของคนเรานั้น เกิดจากการที่ประสาทสัมผัส (Sense) ได้รับการเร้าจากสิ่งเร้า (Stimulus) บุคคลจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเร้านั้นได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการเรียนของเขานั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งเร้าโดยตรงมากน้อยเพียงใดด้วย ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้เรียนจากกระบวนการเรียนที่ตนเองได้มีโอกาสสัมผัสมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องกว่าการเรียนจากคำบอกเล่า หรือท่องจำอย่างเดียว

6. อุปสรรคในการสื่อความหมาย มีอะไรบ้าง -อุปสรรคในการสื่อสารในกระบวนการสื่อสารนั้น ปริมาณของข่าวสารซึ่งออกจากผู้ส่งจะไปยังผู้รับเต็มจำนวนร้อยเปอร์เซนต์หรือไม่ พบว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วปริมาณของข่าวสารจากผู้ส่งสารจะถ่ายทอดไปถึงผู้รับไม่ครบถ้วน เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ขององค์ประกอบในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้1. ความสามารถในการเข้ารหัส ผู้ส่งสารอาจขาดความสามารถในการแปลความต้องการของตนให้เป็นสัญญาณ เช่น บางคนมีความคิดแต่ไม่รู้จะถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร2. ความบกพร่องของสื่อและช่องทาง เช่น สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม ตลอดจนความบกพร่องของช่องทางในการรับส่งสัญญาณ เช่น ตาไม่ดี หูไม่ดี เป็นต้น3. มีสิ่งรบกวนสัญญาณ (Noise) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้3.1 สิ่งรบกวนภายนอก ได้แก่ ความไม่สะดวกทางกายภาพ เช่น ความแออัดของสถานที่ เสียงรบกวนที่ดัง กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์3.2 สิ่งรบกวนภายใน ได้แก่ อุปสรรคที่มาจากภายในตัวของผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น ความเครียด อารมณ์ที่ขุ่นมัว จิตใจเลื่อนลอย เป็นต้น4. ความสามารถในการถอดรหัสสัญญาณของผู้รับสาร ได้แก่ ข้อจำกัดในการรับสัญญาณและการแปลความหมาย ซึ่งจำแนกได้ดังนี้4.1 อุปสรรคทางด้านภาษา (Verbalism) ได้แก่ ความไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อภาษาที่ใช้ในการสื่อความหมาย4.2 ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม (Referent Confusion)4.3 ขีดจำกัดของการรับรู้จากประสาทสัมผัส (Limited Perception)4.4 สภาพร่างกายที่ไม่พร้อม (Physical Discomfort)4.5 การไม่ยอมรับ(Inpercerption)4.6 จินตภาพ (Image) ของข่าวสารไม่ตรงกัน

7. จงยกตัวอย่างแบบจำลองของการสื่อสารมา 1 แบบ-1. แบบจำลองของลาสแวลล์ (lasswell)ลาสแวลล์ เป็นนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันได้คิดรูปแบบของการสื่อสาร ออกมาว่า การจะอธิบายระบบการสื่อสารนั้น เราควรจะถามตนเองว่าWho คือใคร ใครเป็นคนพูดSay What พูดเรื่องอะไรIn Which Channel ใช้ช่องทางใดTo Whom กับใคร(ผู้รับสาร)With What Effect ได้ผลอย่างไรWhoผู้ส่งสารSay WhatสารIn Which Channel สื่อTo WhomกับใครWith What Effect ผลผู้ส่งสาร ----- Say What ----- In Which Channel ----- To Whom -----With What Effect ผลสื่อ สาร กับใครภาพที่ แบบจำลองการสื่อสารของลาสแวลล์

8. จงเปรียบเทียบองค์ประกอบของการสื่อสาร กับการเรียนการสอน - องค์ประกอบของการสื่อสารองค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประกอบด้วย1. ผู้ส่งสาร (Source) คือ ผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว ความรู้ ความคิด ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆเพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เช่น ผู้อ่าน ข่าว ครู สถาบันการศึกษา เป็นต้น2. เรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านั้น เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น3. สื่อ (Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ เหตุการณ์ต่างๆที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้มากก็คือ ภาษาพุด ภาษาเขียน4. ผู้รับสาร (Receiver ) ได้แก่ ผู้ที่รับเนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เมื่อรับเรื่องราวแล้วผู้รับต้องมี การแปลข่าวสารนั้นให้เข้าใจ เหตุการณ์ ส่วนองค์ประกอบของการเรียนรู้การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการ (สมศักดิ์ เจียมทะวงษ์. 2519 : 20-26) คือ1. แรงจูงใจ (Motive) คนเราจะเรียนรู้ได้ดีหากเขามีแรงจูงใจสูงในบทเรียน ที่เขาจะเรียนเช่น เรื่องนั้นแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น หรือตรงความต้องการของเขา2. กระบวนการสอน (Teaching procedure) แม้ว่าผู้เรียนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนเพียงใด แต่ถ้ากระบวนการสอนของครูไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพได้3. กระบวนการเรียน (Studying Procedure) การเรียนรู้ของคนเรานั้น เกิดจากการที่ประสาทสัมผัส (Sense) ได้รับการเร้าจากสิ่งเร้า (Stimulus) บุคคลจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเร้านั้นได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการเรียนของเขานั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งเร้าโดยตรงมากน้อยเพียงใดด้วย ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้เรียนจากกระบวนการเรียนที่ตนเองได้มีโอกาสสัมผัสมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องกว่าการเรียนจากคำบอกเล่า หรือท่องจำอย่างเดียว

9. จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร การรับรู้ และการเรียนรู้-การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่มนุษย์ติดต่อถ่ายทอดเรื่องราว แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารโดยผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับอย่างมีวัตถุประสงค์ ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอน ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการการสื่อสารด้วยเช่นกันในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บังเกิดประสิทธิภาพ จำเป็นที่ผู้สอนจะต้องนำกระบวนการสื่อสารมาปรับใช้กับกระบวนการเรียนการสอน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของสื่อ และการป้องกันสิ่งรบกวน เป็นต้น
นายกิตติศักดิ์ เอกอนงค์ สังคมศึกษา 514110001


การเรียนรู้ของคนเรามักเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะคือ จากการได้รับการถ่ายทอดจากผู้อื่น และเกิดการรู้ได้ด้วยตนเอง แต่ส่วนใหญ่แล้วการเรียนรู้ของคนเราเกิดจากการได้รับการถ่ายทอดจากผู้อื่น และในการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าว ย่อมต้องอาศัยกระบวนการสื่อสารเป็นสำคัญการสื่อสารหรือการสื่อความหมาย ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Communication” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า “Communius” หมายถึง พร้อมกันหรือร่วมกัน (Common) หมายความว่าเมื่อจะมีการสื่อความหมายกัน คนเราจะต้องสร้างความพร้อมกันหรือร่วมกันทั้งด้านภาษา ความคิด เรื่องราวเหตุการณ์ ทัศนคติ ฯลฯ กับบุคคลที่เราต้องการสื่อสารด้วย ดังนั้น การสื่อสารหรือการสื่อความหมาย ก็คือ กระบวนการติดต่อสัมพันธ์กันเพื่อการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรื่องราว ค่านิยม ตลอดจนทักษะต่าง ๆ ซึ่งกันและกันของมนุษย์นั่นเอง นักวิชาการด้านการสื่อสารให้ความหมายของการสื่อสารไว้ต่างๆกัน ดังนี้
ความหมายของการสื่อสาร
ปรมะ สตะเวทิน(2536 : 17) กล่าวว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้ส่งสาร ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับสาร โดยผ่านสื่อ และได้ให้ความหมายว่า การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการของบุคคลซึ่งคนทั้งสองฝ่ายถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือข้อมูล ความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความประทับใจ เป็นต้น จากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งด้วยความต้องการที่จะทำให้ฝ่ายหนึ่งเข้าใจเจตนาและความประสงค์ของตนเองและใช้ประโยชน์จากเนื้อกาของสิ่งเหล่านั้นกิดานันท์ มลิทอง(2540 : 21) กล่าวว่า การสื่อสาร หมายถึง การถ่ายทอดเรื่องราว การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก ตลอดรวมไปถึงระบบเพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกันเอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์(2545 : 173) กล่าวว่า การสื่อสารเป็นกระบวนการที่มนุษย์พยายามติดต่อซึ่งกันและกัน มีความเคลื่อนไหวและเป็นพฤติกรรมเพื่อการติดต่อสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในการส่งและรับสารระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารโดยผ่านสื่อต่างๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจนฟิสค์(Fiske, 1985 : 11) กล่าวว่า การสื่อสาร เป็นการที่บุคคลในสังคมมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันโดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร สัญลักษณ์ และเครื่องหมายต่างๆวิลเลียมส์(Williams, 1987 : 11) กล่าวว่า การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่แสดงออกถึงโครงสร้างวัฒนธรรมของมนุษยชาติ วิธีการพื้นฐานที่จะแสดงออกถึงโครงสร้างวัฒนธรรมนั้นก็คือ ด้วยการถ่ายทอด ติดต่อ แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกันสรุปได้ว่า การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่มนุษย์ติดต่อถ่ายทอดเรื่องราว แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารโดยผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับอย่างมีวัตถุประสงค์
องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประกอบด้วย1. ผู้ส่งสาร (Source) คือ ผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว ความรู้ ความคิด ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆเพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เช่น ผู้อ่าน ข่าว ครู สถาบันการศึกษา เป็นต้น2. เรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านั้น เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น3. สื่อ (Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ เหตุการณ์ต่างๆที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้มากก็คือ ภาษาพุด ภาษาเขียน4. ผู้รับสาร (Receiver ) ได้แก่ ผู้ที่รับเนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เมื่อรับเรื่องราวแล้วผู้รับต้องมี การแปลข่าวสารนั้นให้เข้าใจ เหตุการณ์
รูปแบบการสื่อสาร
ในการสื่อสารนั้น เริ่มด้วยผู้ส่งสาร จะเป็นผู้ที่มีความต้องการที่จะส่งข่าวสารไปสู่ผู้รับหรือจุดหมายปลายทาง ในการส่งสารจำเป็นต้องปรับข่าวสารในความคิดของตนออกมาในรูปของภาษาหรือสัญญาณ (Signal) ลักษณะของสัญญาณจะเป็นการผสมผสานระหว่างเนื้อหา หรือเรื่องราวที่ต้องการส่งกับสื่อและช่องทางเพื่อให้ผู้รับเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของตน ในการปรับความคิดให้เป็นภาษาหรือสัญญาณนี้ ผู้ส่งสารจะต้องใช้วิธีเข้ารหัสสัญญาณ (Encode) และส่งสัญญาณไปสู่ผู้รับสาร การที่ผู้รับสารจะเข้าใจความคิดของผู้ส่งสาร จำเป็นต้องผ่านการถอดรหัสสัญญาณ (Decode) อย่างถูกต้องเสียก่อน จึงจะรับรู้ความคิดของผู้ส่งสารได้ ตัวอย่างเช่น บรรณารักษ์ห้องสมุดไม่ต้องการให้ผู้มาอ่านหนังสือสูบบุหรี่ในห้องสมุด ความต้องการที่จะไม่ให้คนสูบบุหรี่นั้นคือ ข่าวสาร บรรณารักษ์ (ผู้ส่งสาร) จำเป็นต้องหาวิธีสื่อสารไปยังผู้อื่นด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยเข้ารหัสสัญญาณ เช่น การติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ หรือการไปบอกด้วยวาจาโดยตรง เป็นต้น วิธีการต่าง ๆ ที่บรรณารักษ์ติดต่อกับผู้สูบบุหรี่ ก็คือ สัญญาณ และเมื่อผู้สูบบุหรี่หรือผู้รับสารได้รับสัญญาณก็จะต้องทำการถอดรหัสสัญญาณว่า ผู้ส่งต้องการอะไร ถ้าสามารถรับรู้ถึงความคิดหรือความต้องการของผู้ส่งสารได้ก็ถือว่ากระบวนการสื่อความหมายครั้งนี้ประสบผลสำเร็จสมบูรณ์
อุปสรรคในการสื่อสาร
ในกระบวนการสื่อสารนั้น ปริมาณของข่าวสารซึ่งออกจากผู้ส่งจะไปยังผู้รับเต็มจำนวนร้อยเปอร์เซนต์หรือไม่ พบว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วปริมาณของข่าวสารจากผู้ส่งสารจะถ่ายทอดไปถึงผู้รับไม่ครบถ้วน เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ขององค์ประกอบในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้1. ความสามารถในการเข้ารหัส ผู้ส่งสารอาจขาดความสามารถในการแปลความต้องการของตนให้เป็นสัญญาณ เช่น บางคนมีความคิดแต่ไม่รู้จะถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร2. ความบกพร่องของสื่อและช่องทาง เช่น สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม ตลอดจนความบกพร่องของช่องทางในการรับส่งสัญญาณ เช่น ตาไม่ดี หูไม่ดี เป็นต้น3. มีสิ่งรบกวนสัญญาณ (Noise) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้3.1 สิ่งรบกวนภายนอก ได้แก่ ความไม่สะดวกทางกายภาพ เช่น ความแออัดของสถานที่ เสียงรบกวนที่ดัง กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์3.2 สิ่งรบกวนภายใน ได้แก่ อุปสรรคที่มาจากภายในตัวของผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น ความเครียด อารมณ์ที่ขุ่นมัว จิตใจเลื่อนลอย เป็นต้น4. ความสามารถในการถอดรหัสสัญญาณของผู้รับสาร ได้แก่ ข้อจำกัดในการรับสัญญาณและการแปลความหมาย ซึ่งจำแนกได้ดังนี้4.1 อุปสรรคทางด้านภาษา (Verbalism) ได้แก่ ความไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อภาษาที่ใช้ในการสื่อความหมาย4.2 ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม (Referent Confusion)4.3 ขีดจำกัดของการรับรู้จากประสาทสัมผัส (Limited Perception)4.4 สภาพร่างกายที่ไม่พร้อม (Physical Discomfort)4.5 การไม่ยอมรับ(Inpercerption)4.6 จินตภาพ (Image) ของข่าวสารไม่ตรงกัน