สไลด์

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

นายกิตติศักดิ์ เอกอนงค์ สังคมศึกษา 514110001


การเรียนรู้ของคนเรามักเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะคือ จากการได้รับการถ่ายทอดจากผู้อื่น และเกิดการรู้ได้ด้วยตนเอง แต่ส่วนใหญ่แล้วการเรียนรู้ของคนเราเกิดจากการได้รับการถ่ายทอดจากผู้อื่น และในการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าว ย่อมต้องอาศัยกระบวนการสื่อสารเป็นสำคัญการสื่อสารหรือการสื่อความหมาย ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Communication” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า “Communius” หมายถึง พร้อมกันหรือร่วมกัน (Common) หมายความว่าเมื่อจะมีการสื่อความหมายกัน คนเราจะต้องสร้างความพร้อมกันหรือร่วมกันทั้งด้านภาษา ความคิด เรื่องราวเหตุการณ์ ทัศนคติ ฯลฯ กับบุคคลที่เราต้องการสื่อสารด้วย ดังนั้น การสื่อสารหรือการสื่อความหมาย ก็คือ กระบวนการติดต่อสัมพันธ์กันเพื่อการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรื่องราว ค่านิยม ตลอดจนทักษะต่าง ๆ ซึ่งกันและกันของมนุษย์นั่นเอง นักวิชาการด้านการสื่อสารให้ความหมายของการสื่อสารไว้ต่างๆกัน ดังนี้
ความหมายของการสื่อสาร
ปรมะ สตะเวทิน(2536 : 17) กล่าวว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้ส่งสาร ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับสาร โดยผ่านสื่อ และได้ให้ความหมายว่า การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการของบุคคลซึ่งคนทั้งสองฝ่ายถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือข้อมูล ความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความประทับใจ เป็นต้น จากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งด้วยความต้องการที่จะทำให้ฝ่ายหนึ่งเข้าใจเจตนาและความประสงค์ของตนเองและใช้ประโยชน์จากเนื้อกาของสิ่งเหล่านั้นกิดานันท์ มลิทอง(2540 : 21) กล่าวว่า การสื่อสาร หมายถึง การถ่ายทอดเรื่องราว การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก ตลอดรวมไปถึงระบบเพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกันเอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์(2545 : 173) กล่าวว่า การสื่อสารเป็นกระบวนการที่มนุษย์พยายามติดต่อซึ่งกันและกัน มีความเคลื่อนไหวและเป็นพฤติกรรมเพื่อการติดต่อสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในการส่งและรับสารระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารโดยผ่านสื่อต่างๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจนฟิสค์(Fiske, 1985 : 11) กล่าวว่า การสื่อสาร เป็นการที่บุคคลในสังคมมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันโดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร สัญลักษณ์ และเครื่องหมายต่างๆวิลเลียมส์(Williams, 1987 : 11) กล่าวว่า การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่แสดงออกถึงโครงสร้างวัฒนธรรมของมนุษยชาติ วิธีการพื้นฐานที่จะแสดงออกถึงโครงสร้างวัฒนธรรมนั้นก็คือ ด้วยการถ่ายทอด ติดต่อ แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกันสรุปได้ว่า การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่มนุษย์ติดต่อถ่ายทอดเรื่องราว แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารโดยผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับอย่างมีวัตถุประสงค์
องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประกอบด้วย1. ผู้ส่งสาร (Source) คือ ผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว ความรู้ ความคิด ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆเพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เช่น ผู้อ่าน ข่าว ครู สถาบันการศึกษา เป็นต้น2. เรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านั้น เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น3. สื่อ (Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ เหตุการณ์ต่างๆที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้มากก็คือ ภาษาพุด ภาษาเขียน4. ผู้รับสาร (Receiver ) ได้แก่ ผู้ที่รับเนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เมื่อรับเรื่องราวแล้วผู้รับต้องมี การแปลข่าวสารนั้นให้เข้าใจ เหตุการณ์
รูปแบบการสื่อสาร
ในการสื่อสารนั้น เริ่มด้วยผู้ส่งสาร จะเป็นผู้ที่มีความต้องการที่จะส่งข่าวสารไปสู่ผู้รับหรือจุดหมายปลายทาง ในการส่งสารจำเป็นต้องปรับข่าวสารในความคิดของตนออกมาในรูปของภาษาหรือสัญญาณ (Signal) ลักษณะของสัญญาณจะเป็นการผสมผสานระหว่างเนื้อหา หรือเรื่องราวที่ต้องการส่งกับสื่อและช่องทางเพื่อให้ผู้รับเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของตน ในการปรับความคิดให้เป็นภาษาหรือสัญญาณนี้ ผู้ส่งสารจะต้องใช้วิธีเข้ารหัสสัญญาณ (Encode) และส่งสัญญาณไปสู่ผู้รับสาร การที่ผู้รับสารจะเข้าใจความคิดของผู้ส่งสาร จำเป็นต้องผ่านการถอดรหัสสัญญาณ (Decode) อย่างถูกต้องเสียก่อน จึงจะรับรู้ความคิดของผู้ส่งสารได้ ตัวอย่างเช่น บรรณารักษ์ห้องสมุดไม่ต้องการให้ผู้มาอ่านหนังสือสูบบุหรี่ในห้องสมุด ความต้องการที่จะไม่ให้คนสูบบุหรี่นั้นคือ ข่าวสาร บรรณารักษ์ (ผู้ส่งสาร) จำเป็นต้องหาวิธีสื่อสารไปยังผู้อื่นด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยเข้ารหัสสัญญาณ เช่น การติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ หรือการไปบอกด้วยวาจาโดยตรง เป็นต้น วิธีการต่าง ๆ ที่บรรณารักษ์ติดต่อกับผู้สูบบุหรี่ ก็คือ สัญญาณ และเมื่อผู้สูบบุหรี่หรือผู้รับสารได้รับสัญญาณก็จะต้องทำการถอดรหัสสัญญาณว่า ผู้ส่งต้องการอะไร ถ้าสามารถรับรู้ถึงความคิดหรือความต้องการของผู้ส่งสารได้ก็ถือว่ากระบวนการสื่อความหมายครั้งนี้ประสบผลสำเร็จสมบูรณ์
อุปสรรคในการสื่อสาร
ในกระบวนการสื่อสารนั้น ปริมาณของข่าวสารซึ่งออกจากผู้ส่งจะไปยังผู้รับเต็มจำนวนร้อยเปอร์เซนต์หรือไม่ พบว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วปริมาณของข่าวสารจากผู้ส่งสารจะถ่ายทอดไปถึงผู้รับไม่ครบถ้วน เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ขององค์ประกอบในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้1. ความสามารถในการเข้ารหัส ผู้ส่งสารอาจขาดความสามารถในการแปลความต้องการของตนให้เป็นสัญญาณ เช่น บางคนมีความคิดแต่ไม่รู้จะถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร2. ความบกพร่องของสื่อและช่องทาง เช่น สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม ตลอดจนความบกพร่องของช่องทางในการรับส่งสัญญาณ เช่น ตาไม่ดี หูไม่ดี เป็นต้น3. มีสิ่งรบกวนสัญญาณ (Noise) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้3.1 สิ่งรบกวนภายนอก ได้แก่ ความไม่สะดวกทางกายภาพ เช่น ความแออัดของสถานที่ เสียงรบกวนที่ดัง กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์3.2 สิ่งรบกวนภายใน ได้แก่ อุปสรรคที่มาจากภายในตัวของผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น ความเครียด อารมณ์ที่ขุ่นมัว จิตใจเลื่อนลอย เป็นต้น4. ความสามารถในการถอดรหัสสัญญาณของผู้รับสาร ได้แก่ ข้อจำกัดในการรับสัญญาณและการแปลความหมาย ซึ่งจำแนกได้ดังนี้4.1 อุปสรรคทางด้านภาษา (Verbalism) ได้แก่ ความไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อภาษาที่ใช้ในการสื่อความหมาย4.2 ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม (Referent Confusion)4.3 ขีดจำกัดของการรับรู้จากประสาทสัมผัส (Limited Perception)4.4 สภาพร่างกายที่ไม่พร้อม (Physical Discomfort)4.5 การไม่ยอมรับ(Inpercerption)4.6 จินตภาพ (Image) ของข่าวสารไม่ตรงกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น